ระบบงานสวมเป็นการประกอบชิ้นส่วน 2 ชิ้นเข้าด้วยกันระหว่างเพลากับรู้คว้านโดยมีค่าพิกัดต่างๆเป็นตัวกำหนด ดังรูป

รูปที่2.1 แสดงระบบงานสวมระหว่างเพลากับรูคว้าน
1.1 จุดมุ่งหมายของระบบงานสวม การผลิตชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องจักรกลที่ออกมาเป็นจำนวนมากๆเป็นการยากที่จะ ทำให้ชิ้นส่วนทุกชิ้นส่วนได้ขนาดเที่ยงตรงตามที่แบบกำหนดจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งต้องยอมให้มีขนาดที่ผิดพลาดได้ในช่วงที่กำหนด ซึ่งขนาดที่ยอมให้ผิดพลาดได้นั้นเรียกว่า พิกัดความเผื่อ ดังนั้นในระบบงานสวมชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลพิกัดความเผื่อมีความจำเป็น อย่างยิ่งสามารถกำหนดค่าผิดพลาดได้ทั้งที่โตกว่าและค่าที่เล็กกว่าตามที่แบบ กำหนด(ค่าบวก และค่าลบ)ดังรูป

รูปที่2.2 แสดงค่าพิกัดความเผื่อระบบงานสวม
2.พิกัดความเผื่อ(TOLERANCE)
ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆให้ได้ขนาดตามที่ต้องการโดยที่ขนาดของ ชิ้นส่วนไม่ผิดพลาดเลยนั้นช่างทุกคนไม่สามารถทำได้ ดังนั้นในการกำหนดขนาดลงในแบบบงานต้องกำหนดค่าสูงสุดและค่าขนาดที่ต่ำสุด และค่าขนาดของชิ้นงาน ค่าขนาดที่ใช้งานจริงจะอยู่ในระหว่างค่าโตและค่าที่ต่ำสุดที่ยอมให้ได้ ผลต่างของค่าทั้งสองเรียกว่า ค่าพิกัดความเผื่อ
2.1 ความหมายระบบมาตรฐานของพิกัดความเผื่อ จะกำหนดค่าต่างๆดังรูป
ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆให้ได้ขนาดตามที่ต้องการโดยที่ขนาดของ ชิ้นส่วนไม่ผิดพลาดเลยนั้นช่างทุกคนไม่สามารถทำได้ ดังนั้นในการกำหนดขนาดลงในแบบบงานต้องกำหนดค่าสูงสุดและค่าขนาดที่ต่ำสุด และค่าขนาดของชิ้นงาน ค่าขนาดที่ใช้งานจริงจะอยู่ในระหว่างค่าโตและค่าที่ต่ำสุดที่ยอมให้ได้ ผลต่างของค่าทั้งสองเรียกว่า ค่าพิกัดความเผื่อ
2.1 ความหมายระบบมาตรฐานของพิกัดความเผื่อ จะกำหนดค่าต่างๆดังรูป

รูปที่2.3 แสดงระบบมาตรฐานพิกัดความเผื่อ
คำจำกัดความจากรูป 2.3
2.1.1 ขนาดกำหนด (NORMINAL SIZE) คือ ขนดปกติของชิ้นงานที่วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง หรือขนาดชิ้นงานที่กำหนดลงแบบในงาน
2.1.2 ค่าความเผื่อต่ำสุด (ALLOWANCE BELOW NORMINAL SIZE) ระยะที่วัดจากเส้นศูนย์ถึงเส้นต่ำสุด
2.1.3 ค่าความเผื่อสูงสุด (ALLOWANCE ABOVE NORMINAL SIZE) ระยะวัดจากเส้นศูนย์ถึงเส้นสูงสุด
2.1.4 พิกัดความเผื่อ (TOLERANCE) คือ ผลต่างระหว่างขนาดที่ยอมรับให้โตสุดกับขนาดเล็กสุด
2.1.5 เส้นศูนย์ (ZERO LINE) คือ เส้นแสดงตำแหน่งของขนาดกำหนด
หมายเหตุ
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการกำหนดค่าพิกัดความเผื่อนั้นควรจะกำหนดให้ มากเท่าที่จะมากได้ เพราะว่าถ้ากำหนดค่าพิกัดความเผื่อน้อยค่าจ้างในการผลิตตามไปด้วย เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตจะสูงตามไปด้วย ในการผลิตที่มีค่าความละเอียดสูง จำเป็นต้องระมัดระวังในกาผลิตมาก การที่ผลิตให้ได้ขนาดพอดีนั้นทำได้ยากมาก ดังนั้นวิศวกรต้องตัดสินใจว่าควรกำหนดค่าพิกัดความเผื่อสำหรับชิ้นส่วนนั้นๆ เท่าไร โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและอายุการใช้งานด้วย
ข้อควรคำนึง
ค่าพิกัดความเผื่อยิ่งน้อยเท่าใดก็จะต้องใช้ความระมัดระวังในการผลิตชิ้น ส่วนมากเท่านั้นและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงมากขึ้น การกำหนดค่าพิกัดความเผื่อน้อยจะสิ้นเปลืองทุน เวลาเครื่องจักร และพลังงานในการผลิตเกินความจำเป็น
2.2 การกำหนดมาตรฐานของพิกัดความเผื่อ มีดังต่อไปนี้
ในการผลิตที่ประหยัด ในการผลิตจำนวนมากๆและในการผลิตที่สามารถใช้ชิ้นส่วนแทนกันได้ จำเป็นต้องมีมาตรฐานของพิกัดความเผื่อขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือขนาด และความละเอียของชิ้นงาน และความละเอียดของชิ้นงาน ด้วยเหตุที่ไม่สะดวกในการกำหนดพิกัดความเผื่อไว้สำหรับทุกๆขนาดของเส้นผ่า ศูนย์กลาง ค่าของพิกัด ความเผื่อขึ้นอยู่กับขนาดกำหนดและจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อขนาดกำหนดนั้นเพิ่ม ขึ้น
2.2.1 ตำแหน่งช่วงพิกัดความเผื่อของเพลา จะกำหนดค่าด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์เล็กตั้งแต่ a-z ดังรูป

รูปที่2.4 แสดงช่วงพิกัดความเผื่อเพลา
2.2.2 ตำแหน่งช่วงพิกัดความเผื่อของรูคว้าน จะกำหนดค่าด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่ตั้งแต่ A-Z ดังรูป

รูปที่2.5 แสดงช่วงพิกัดเผื่อของรูคว้าน

2.3 ระดับความละเอียดของพิกัดของพิกัดความเผื่อ
เป็นค่าของพิกัดความเผื่อซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดกำหนดของชิ้นงานและจะเพิ่มมาก ขึ้นเมื่อขนาดกำนดเพิ่มมากขึ้น ระบบพิกัดความเผื่อแบ่งออกได้ 2 ระดับมาตรฐานของความละเอียด(IT 1 ถึง IT 18)ดังรูป
เป็นค่าของพิกัดความเผื่อซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดกำหนดของชิ้นงานและจะเพิ่มมาก ขึ้นเมื่อขนาดกำนดเพิ่มมากขึ้น ระบบพิกัดความเผื่อแบ่งออกได้ 2 ระดับมาตรฐานของความละเอียด(IT 1 ถึง IT 18)ดังรูป

รูปที่ 2.6 แสดงระดับความละเอียดของพิกัดความเผื่อ

2.4 การกำหนดค่าพิกัดความเผื่อในแบบงาน
ให้กำหนดค่าพิกัดความเผื่อของรูคว้านโดยกำหนดเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กใต้มุมขวาของขนาดที่กำหนด ดังรูป
ให้กำหนดค่าพิกัดความเผื่อของรูคว้านโดยกำหนดเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กใต้มุมขวาของขนาดที่กำหนด ดังรูป

รูปที่2.7 แสดงการกำหนดพิกัดความเผื่อลงในแบบงาน
3.ชนิดของงานสวม
งานสวมที่ใช้กับชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามมาตรฐานมีอยู่ 3 อย่าง คือ งานสวมคลอนงามวสวมพอดี และงานสวมอัด ดังรูป

รูปที่2.8 เปรียบเทียบงานสวมแบบต่างๆ
3.1 งานสวมคลอน คือ เพลาจะเล็กกว่ารูคว้านเสมอ ดังนั้นจึงมีระยะคลอนเกิดขึ้นทำให้เพลาสามารถหมุนได้เพลาสามารถหมุนได้อยู่ภายในรูคว้าน ดัง

รูปที่ 2.9 ลักษณะงานสวมคลอน
3.2 งานสวมพอดี คือ ขึ้นกับขนาดที่แท้จริงของชิ้นส่วนนั้นที่นำมาประกอบกันสามารถเป็นได้ทั้งงานสวมพอดี และงานสวมอัด ดังรูป

รูปที่ 2.10 ลักษณะงานสวมพอดี
3.3 งานสวมอัด คือ เพลาจะใหญ่กว่ารูคว้านจึงจำเป็นต้องอัด หลังจากสวมอัดเข้าไปแล้วจะเกิดความเครียดขึ้นที่ผิวงานทั้งสอง ดังรูป

รูปที่2.11 ลักษณะงานสามอัด
3.4 ระยะอัดและระยะคลอน ในระบบงานสวมจะกำหนดระยะอัดและระยะคลอนไว้เป็นค่ามากที่สุด และค่าน้อยที่สุดเอาไว้ ดังรูป

รูปที่2.12แสดงการกำหนดระยะอัดมากสุด

รูปที่2.13 แสดงการกำหนดระยะอัดน้อยสุด

รูปที่2.14 แสดงการกำหนดระยะคลอนมากสุด

รูปที่ 2.15 แสดงการกำหนดระยะคลอนน้อยสุด
4. ระบบงานสวม
ระบบงานสวมของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ใช้ประกอบเข้าด้วยกันจำเป็นต้องให้ ชิ้นส่วนชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นหลักหรือเป็นค่าคงที่ไว้ก่อน จากนั้นค่อยปรับชิ้นส่วนอีกชิ้นเพื่อให้สามารถสวมกันได้ จึงทำให้เกิดงานสวมขึ้นมา 2 อย่าง คือ งานสวมระบบรูคงที่ และงานสามารถระบบเพลาคงที่ดังนี้
4.1 งานสวมระบบรูคว้านคงที่ งานสวมระบบนี้จะต้องกำหนดให้รูคว้านคงที่ ซึ่งรูคว้านมีพิกัดความเผื่อ H เมื่อสวมกับเพลาพิกัดความเผื่อจาก a ถึง h จะเป็นงานคลอน จาก j ถึง n จะเป็นงานสวมพอดี และจาก p ถึง z จะเป็นงานสวมอัด ดังรูป

รูปที่2.16 งานส้วมระบบรุคว้านคงที่
4.2 งานสวมระบบเพลาคงที่ งานสวมระบบนี้จะต้องกำหนดให้เพลาคงที่ ซึ่งเพลามีพิกัดความเผื่อ h เมื่อสวมรูคว้านพิกัดความเผื่อจาก A ถึง H จะเป็นงานสวมคลอน จาก J ถึง N จะเป็นงานสวมพอดี และจาก P ถึง Z จะเป็นงานสวมอัด ดัง

รูปที่2.17 งานสวมระบบเพลาคงที่
4.3 ตัวอย่างงานสวมระบบรูคว้านคงที่ และระบบเพลาคงที่ จากตัวอย่างนี้ค่าพิกัดความเผื่อให้อ่านจากตารางมาตรฐานด้านหลัง

รูปที่2.17 งานสวมระบบเพลาคงที่
4.4 ข้อดีและข้อเสียของงานสวมระบบรูคว้านคงที่ และเพลาคงที่ และเพลาที่ มีดังต่อไปนี้

4.5 พิกัดความเผื่ออิสระ โดยทั่วไปการใช้พิกัดความเผื่อจะใช้กับงานที่ไม่มีการสอนประกอบ เช่น งานเชื่อม งานหล่อ งานรีด ค่าต่างๆ ดูได้จากตาราง

5. การนำค่าพิกัดความเผื่อไปใช้งาน
การนำค่าพิกัดความเผื่อไปใช้งานดูได้จากตาราง
การนำค่าพิกัดความเผื่อไปใช้งานดูได้จากตาราง

หมายเหตุ:รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านจากตารางมาตรฐาน
มีภาพไหมครับ
ReplyDeleteยากดูรูป
ReplyDeleteเนื้อหา ผมคิดว่าดีเลยครับ เเต่เสียดายไม่มีรูปเนาะ
ReplyDeleteเเต่ก็ขอบคุณมากๆเลยครับ ขอบคุณจากใจ
ReplyDeleteสติ๊กเกอร์ไลน์ ชิ้นส่วนมาตรฐาน
ReplyDeleteสกรูและสลักเกลียวในงานวิศวกรรม
https://store.line.me/stickershop/product/16456268
แหวนล๊อคในงานวิศวกรรม
https://store.line.me/stickershop/product/16425794
แหวนรองในงานวิศวกรรม
https://store.line.me/stickershop/product/16425165
น๊อตในงานวิศวกรรม
https://store.line.me/stickershop/product/16400172