คืนก่อนตอน 02:00 น.ฉันไม่ได้โอเวอร์อะไรหรอก เวลานี้เป้ะ ๆ ....(ชีวิตฉันมักจะเป็นอะไรที่เป้ะ ๆ กับเวลาโดยบังเอิญแบบนี้เสมอๆ)
02:00 น. ของเช้าวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2555 ฉันตื่นมาพร้อมกับอาการปวดท้อง อย่างมากๆ จริงๆ แล้วฉันปวดมาแล้วหลายวัน สาเหตุฉันมั่นใจเกิดจากการนวด และกดท้อง เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา
เพราะเชื่อแบบนี้ เมื่อปวดท้องมากฉันจึงทน และไม่ไปพบแพทย์ (ทั้งๆที่รู้ว่าควรจะไปหาหมอ)
แล้วจู่ๆ ก็มีเหตุให้ฉันต้องตัดสินใจ
ฉันฉี่เป็นเลือด เอ้ะ .... มันไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้นสักหน่อย เอาเป็นว่า....มีเลือดปนอกมากับฉี่ฉันด้วยละกัน
ฉันตัดสินใจนาทีนั้น ถึงเวลาที่ฉันต้องพบแพทย์ได้แล้ว อาการปวดท้องฉันคงไม่ได้เกิดจากน้ำหนักมือจากการนวดของยัยป้าหมอนวด(แผนไทย)นั่นแล้วหล่ะ
ฉันเตรียมเครื่องใช้ส่วนตัว (ชุดชั้นใน สบู่เหลว ยาสระผม ยาสีฟัน แปรงสีฟัน) ฉันจัดเตรียมของส่วนตัวอย่างใจเย็น ฉันคิดว่า สักหกโมง ฉันจะปลุกหลานสาวไปเป็นเพื่อน ที่ โรงพยาบาล ฉันเกรงใจน้องสาว ไม่อยากรบกวนเขามาก (เขาทำงานหนักมากในแต่ละวัน ตื่นหกโมงเช้าเพื่อไปปิดร้าน และกลับเข้าบ้าน สองทุ่ม .... งานขายของนี่เป็นงานที่เหนื่อยมาก ใครไม่เป็นแม่ค้าไม่รู้หรอก )
จัดของเสร็จแล้ว ฉันนอนต่อไม่ได้ ลุกไปอาบน้ำ สระผม และ"ปลุกน้องสาว" ให้พาไปหาหมอ
ฉันไปหาหมอ ตีสาม
About Me
Monday, October 1, 2012
Wednesday, September 5, 2012
1.ระบบงานสวม(SYSTEM OF FIT)
ระบบงานสวมเป็นการประกอบชิ้นส่วน 2 ชิ้นเข้าด้วยกันระหว่างเพลากับรู้คว้านโดยมีค่าพิกัดต่างๆเป็นตัวกำหนด ดังรูป
1.1 จุดมุ่งหมายของระบบงานสวม การผลิตชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องจักรกลที่ออกมาเป็นจำนวนมากๆเป็นการยากที่จะ ทำให้ชิ้นส่วนทุกชิ้นส่วนได้ขนาดเที่ยงตรงตามที่แบบกำหนดจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งต้องยอมให้มีขนาดที่ผิดพลาดได้ในช่วงที่กำหนด ซึ่งขนาดที่ยอมให้ผิดพลาดได้นั้นเรียกว่า พิกัดความเผื่อ ดังนั้นในระบบงานสวมชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลพิกัดความเผื่อมีความจำเป็น อย่างยิ่งสามารถกำหนดค่าผิดพลาดได้ทั้งที่โตกว่าและค่าที่เล็กกว่าตามที่แบบ กำหนด(ค่าบวก และค่าลบ)ดังรูป
คำจำกัดความจากรูป 2.3
2.1.1 ขนาดกำหนด (NORMINAL SIZE) คือ ขนดปกติของชิ้นงานที่วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง หรือขนาดชิ้นงานที่กำหนดลงแบบในงาน
2.1.2 ค่าความเผื่อต่ำสุด (ALLOWANCE BELOW NORMINAL SIZE) ระยะที่วัดจากเส้นศูนย์ถึงเส้นต่ำสุด
2.1.3 ค่าความเผื่อสูงสุด (ALLOWANCE ABOVE NORMINAL SIZE) ระยะวัดจากเส้นศูนย์ถึงเส้นสูงสุด
2.1.4 พิกัดความเผื่อ (TOLERANCE) คือ ผลต่างระหว่างขนาดที่ยอมรับให้โตสุดกับขนาดเล็กสุด
2.1.5 เส้นศูนย์ (ZERO LINE) คือ เส้นแสดงตำแหน่งของขนาดกำหนด
หมายเหตุ
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการกำหนดค่าพิกัดความเผื่อนั้นควรจะกำหนดให้ มากเท่าที่จะมากได้ เพราะว่าถ้ากำหนดค่าพิกัดความเผื่อน้อยค่าจ้างในการผลิตตามไปด้วย เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตจะสูงตามไปด้วย ในการผลิตที่มีค่าความละเอียดสูง จำเป็นต้องระมัดระวังในกาผลิตมาก การที่ผลิตให้ได้ขนาดพอดีนั้นทำได้ยากมาก ดังนั้นวิศวกรต้องตัดสินใจว่าควรกำหนดค่าพิกัดความเผื่อสำหรับชิ้นส่วนนั้นๆ เท่าไร โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและอายุการใช้งานด้วย
ข้อควรคำนึง
ค่าพิกัดความเผื่อยิ่งน้อยเท่าใดก็จะต้องใช้ความระมัดระวังในการผลิตชิ้น ส่วนมากเท่านั้นและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงมากขึ้น การกำหนดค่าพิกัดความเผื่อน้อยจะสิ้นเปลืองทุน เวลาเครื่องจักร และพลังงานในการผลิตเกินความจำเป็น
2.2 การกำหนดมาตรฐานของพิกัดความเผื่อ มีดังต่อไปนี้
ในการผลิตที่ประหยัด ในการผลิตจำนวนมากๆและในการผลิตที่สามารถใช้ชิ้นส่วนแทนกันได้ จำเป็นต้องมีมาตรฐานของพิกัดความเผื่อขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือขนาด และความละเอียของชิ้นงาน และความละเอียดของชิ้นงาน ด้วยเหตุที่ไม่สะดวกในการกำหนดพิกัดความเผื่อไว้สำหรับทุกๆขนาดของเส้นผ่า ศูนย์กลาง ค่าของพิกัด ความเผื่อขึ้นอยู่กับขนาดกำหนดและจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อขนาดกำหนดนั้นเพิ่ม ขึ้น
2.2.1 ตำแหน่งช่วงพิกัดความเผื่อของเพลา จะกำหนดค่าด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์เล็กตั้งแต่ a-z ดังรูป
2.2.2 ตำแหน่งช่วงพิกัดความเผื่อของรูคว้าน จะกำหนดค่าด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่ตั้งแต่ A-Z ดังรูป
3.ชนิดของงานสวม
งานสวมที่ใช้กับชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามมาตรฐานมีอยู่ 3 อย่าง คือ งานสวมคลอนงามวสวมพอดี และงานสวมอัด ดังรูป
3.1 งานสวมคลอน คือ เพลาจะเล็กกว่ารูคว้านเสมอ ดังนั้นจึงมีระยะคลอนเกิดขึ้นทำให้เพลาสามารถหมุนได้เพลาสามารถหมุนได้อยู่ภายในรูคว้าน ดัง
3.2 งานสวมพอดี คือ ขึ้นกับขนาดที่แท้จริงของชิ้นส่วนนั้นที่นำมาประกอบกันสามารถเป็นได้ทั้งงานสวมพอดี และงานสวมอัด ดังรูป
3.3 งานสวมอัด คือ เพลาจะใหญ่กว่ารูคว้านจึงจำเป็นต้องอัด หลังจากสวมอัดเข้าไปแล้วจะเกิดความเครียดขึ้นที่ผิวงานทั้งสอง ดังรูป
3.4 ระยะอัดและระยะคลอน ในระบบงานสวมจะกำหนดระยะอัดและระยะคลอนไว้เป็นค่ามากที่สุด และค่าน้อยที่สุดเอาไว้ ดังรูป
4. ระบบงานสวม
ระบบงานสวมของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ใช้ประกอบเข้าด้วยกันจำเป็นต้องให้ ชิ้นส่วนชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นหลักหรือเป็นค่าคงที่ไว้ก่อน จากนั้นค่อยปรับชิ้นส่วนอีกชิ้นเพื่อให้สามารถสวมกันได้ จึงทำให้เกิดงานสวมขึ้นมา 2 อย่าง คือ งานสวมระบบรูคงที่ และงานสามารถระบบเพลาคงที่ดังนี้
4.1 งานสวมระบบรูคว้านคงที่ งานสวมระบบนี้จะต้องกำหนดให้รูคว้านคงที่ ซึ่งรูคว้านมีพิกัดความเผื่อ H เมื่อสวมกับเพลาพิกัดความเผื่อจาก a ถึง h จะเป็นงานคลอน จาก j ถึง n จะเป็นงานสวมพอดี และจาก p ถึง z จะเป็นงานสวมอัด ดังรูป
4.2 งานสวมระบบเพลาคงที่ งานสวมระบบนี้จะต้องกำหนดให้เพลาคงที่ ซึ่งเพลามีพิกัดความเผื่อ h เมื่อสวมรูคว้านพิกัดความเผื่อจาก A ถึง H จะเป็นงานสวมคลอน จาก J ถึง N จะเป็นงานสวมพอดี และจาก P ถึง Z จะเป็นงานสวมอัด ดัง
4.3 ตัวอย่างงานสวมระบบรูคว้านคงที่ และระบบเพลาคงที่ จากตัวอย่างนี้ค่าพิกัดความเผื่อให้อ่านจากตารางมาตรฐานด้านหลัง
4.4 ข้อดีและข้อเสียของงานสวมระบบรูคว้านคงที่ และเพลาคงที่ และเพลาที่ มีดังต่อไปนี้
ระบบงานสวมเป็นการประกอบชิ้นส่วน 2 ชิ้นเข้าด้วยกันระหว่างเพลากับรู้คว้านโดยมีค่าพิกัดต่างๆเป็นตัวกำหนด ดังรูป

รูปที่2.1 แสดงระบบงานสวมระหว่างเพลากับรูคว้าน
1.1 จุดมุ่งหมายของระบบงานสวม การผลิตชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องจักรกลที่ออกมาเป็นจำนวนมากๆเป็นการยากที่จะ ทำให้ชิ้นส่วนทุกชิ้นส่วนได้ขนาดเที่ยงตรงตามที่แบบกำหนดจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งต้องยอมให้มีขนาดที่ผิดพลาดได้ในช่วงที่กำหนด ซึ่งขนาดที่ยอมให้ผิดพลาดได้นั้นเรียกว่า พิกัดความเผื่อ ดังนั้นในระบบงานสวมชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลพิกัดความเผื่อมีความจำเป็น อย่างยิ่งสามารถกำหนดค่าผิดพลาดได้ทั้งที่โตกว่าและค่าที่เล็กกว่าตามที่แบบ กำหนด(ค่าบวก และค่าลบ)ดังรูป

รูปที่2.2 แสดงค่าพิกัดความเผื่อระบบงานสวม
2.พิกัดความเผื่อ(TOLERANCE)
ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆให้ได้ขนาดตามที่ต้องการโดยที่ขนาดของ ชิ้นส่วนไม่ผิดพลาดเลยนั้นช่างทุกคนไม่สามารถทำได้ ดังนั้นในการกำหนดขนาดลงในแบบบงานต้องกำหนดค่าสูงสุดและค่าขนาดที่ต่ำสุด และค่าขนาดของชิ้นงาน ค่าขนาดที่ใช้งานจริงจะอยู่ในระหว่างค่าโตและค่าที่ต่ำสุดที่ยอมให้ได้ ผลต่างของค่าทั้งสองเรียกว่า ค่าพิกัดความเผื่อ
2.1 ความหมายระบบมาตรฐานของพิกัดความเผื่อ จะกำหนดค่าต่างๆดังรูป
ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆให้ได้ขนาดตามที่ต้องการโดยที่ขนาดของ ชิ้นส่วนไม่ผิดพลาดเลยนั้นช่างทุกคนไม่สามารถทำได้ ดังนั้นในการกำหนดขนาดลงในแบบบงานต้องกำหนดค่าสูงสุดและค่าขนาดที่ต่ำสุด และค่าขนาดของชิ้นงาน ค่าขนาดที่ใช้งานจริงจะอยู่ในระหว่างค่าโตและค่าที่ต่ำสุดที่ยอมให้ได้ ผลต่างของค่าทั้งสองเรียกว่า ค่าพิกัดความเผื่อ
2.1 ความหมายระบบมาตรฐานของพิกัดความเผื่อ จะกำหนดค่าต่างๆดังรูป

รูปที่2.3 แสดงระบบมาตรฐานพิกัดความเผื่อ
คำจำกัดความจากรูป 2.3
2.1.1 ขนาดกำหนด (NORMINAL SIZE) คือ ขนดปกติของชิ้นงานที่วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง หรือขนาดชิ้นงานที่กำหนดลงแบบในงาน
2.1.2 ค่าความเผื่อต่ำสุด (ALLOWANCE BELOW NORMINAL SIZE) ระยะที่วัดจากเส้นศูนย์ถึงเส้นต่ำสุด
2.1.3 ค่าความเผื่อสูงสุด (ALLOWANCE ABOVE NORMINAL SIZE) ระยะวัดจากเส้นศูนย์ถึงเส้นสูงสุด
2.1.4 พิกัดความเผื่อ (TOLERANCE) คือ ผลต่างระหว่างขนาดที่ยอมรับให้โตสุดกับขนาดเล็กสุด
2.1.5 เส้นศูนย์ (ZERO LINE) คือ เส้นแสดงตำแหน่งของขนาดกำหนด
หมายเหตุ
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการกำหนดค่าพิกัดความเผื่อนั้นควรจะกำหนดให้ มากเท่าที่จะมากได้ เพราะว่าถ้ากำหนดค่าพิกัดความเผื่อน้อยค่าจ้างในการผลิตตามไปด้วย เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตจะสูงตามไปด้วย ในการผลิตที่มีค่าความละเอียดสูง จำเป็นต้องระมัดระวังในกาผลิตมาก การที่ผลิตให้ได้ขนาดพอดีนั้นทำได้ยากมาก ดังนั้นวิศวกรต้องตัดสินใจว่าควรกำหนดค่าพิกัดความเผื่อสำหรับชิ้นส่วนนั้นๆ เท่าไร โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและอายุการใช้งานด้วย
ข้อควรคำนึง
ค่าพิกัดความเผื่อยิ่งน้อยเท่าใดก็จะต้องใช้ความระมัดระวังในการผลิตชิ้น ส่วนมากเท่านั้นและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงมากขึ้น การกำหนดค่าพิกัดความเผื่อน้อยจะสิ้นเปลืองทุน เวลาเครื่องจักร และพลังงานในการผลิตเกินความจำเป็น
2.2 การกำหนดมาตรฐานของพิกัดความเผื่อ มีดังต่อไปนี้
ในการผลิตที่ประหยัด ในการผลิตจำนวนมากๆและในการผลิตที่สามารถใช้ชิ้นส่วนแทนกันได้ จำเป็นต้องมีมาตรฐานของพิกัดความเผื่อขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือขนาด และความละเอียของชิ้นงาน และความละเอียดของชิ้นงาน ด้วยเหตุที่ไม่สะดวกในการกำหนดพิกัดความเผื่อไว้สำหรับทุกๆขนาดของเส้นผ่า ศูนย์กลาง ค่าของพิกัด ความเผื่อขึ้นอยู่กับขนาดกำหนดและจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อขนาดกำหนดนั้นเพิ่ม ขึ้น
2.2.1 ตำแหน่งช่วงพิกัดความเผื่อของเพลา จะกำหนดค่าด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์เล็กตั้งแต่ a-z ดังรูป

รูปที่2.4 แสดงช่วงพิกัดความเผื่อเพลา
2.2.2 ตำแหน่งช่วงพิกัดความเผื่อของรูคว้าน จะกำหนดค่าด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่ตั้งแต่ A-Z ดังรูป

รูปที่2.5 แสดงช่วงพิกัดเผื่อของรูคว้าน

2.3 ระดับความละเอียดของพิกัดของพิกัดความเผื่อ
เป็นค่าของพิกัดความเผื่อซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดกำหนดของชิ้นงานและจะเพิ่มมาก ขึ้นเมื่อขนาดกำนดเพิ่มมากขึ้น ระบบพิกัดความเผื่อแบ่งออกได้ 2 ระดับมาตรฐานของความละเอียด(IT 1 ถึง IT 18)ดังรูป
เป็นค่าของพิกัดความเผื่อซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดกำหนดของชิ้นงานและจะเพิ่มมาก ขึ้นเมื่อขนาดกำนดเพิ่มมากขึ้น ระบบพิกัดความเผื่อแบ่งออกได้ 2 ระดับมาตรฐานของความละเอียด(IT 1 ถึง IT 18)ดังรูป

รูปที่ 2.6 แสดงระดับความละเอียดของพิกัดความเผื่อ

2.4 การกำหนดค่าพิกัดความเผื่อในแบบงาน
ให้กำหนดค่าพิกัดความเผื่อของรูคว้านโดยกำหนดเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กใต้มุมขวาของขนาดที่กำหนด ดังรูป
ให้กำหนดค่าพิกัดความเผื่อของรูคว้านโดยกำหนดเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กใต้มุมขวาของขนาดที่กำหนด ดังรูป

รูปที่2.7 แสดงการกำหนดพิกัดความเผื่อลงในแบบงาน
3.ชนิดของงานสวม
งานสวมที่ใช้กับชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามมาตรฐานมีอยู่ 3 อย่าง คือ งานสวมคลอนงามวสวมพอดี และงานสวมอัด ดังรูป

รูปที่2.8 เปรียบเทียบงานสวมแบบต่างๆ
3.1 งานสวมคลอน คือ เพลาจะเล็กกว่ารูคว้านเสมอ ดังนั้นจึงมีระยะคลอนเกิดขึ้นทำให้เพลาสามารถหมุนได้เพลาสามารถหมุนได้อยู่ภายในรูคว้าน ดัง

รูปที่ 2.9 ลักษณะงานสวมคลอน
3.2 งานสวมพอดี คือ ขึ้นกับขนาดที่แท้จริงของชิ้นส่วนนั้นที่นำมาประกอบกันสามารถเป็นได้ทั้งงานสวมพอดี และงานสวมอัด ดังรูป

รูปที่ 2.10 ลักษณะงานสวมพอดี
3.3 งานสวมอัด คือ เพลาจะใหญ่กว่ารูคว้านจึงจำเป็นต้องอัด หลังจากสวมอัดเข้าไปแล้วจะเกิดความเครียดขึ้นที่ผิวงานทั้งสอง ดังรูป

รูปที่2.11 ลักษณะงานสามอัด
3.4 ระยะอัดและระยะคลอน ในระบบงานสวมจะกำหนดระยะอัดและระยะคลอนไว้เป็นค่ามากที่สุด และค่าน้อยที่สุดเอาไว้ ดังรูป

รูปที่2.12แสดงการกำหนดระยะอัดมากสุด

รูปที่2.13 แสดงการกำหนดระยะอัดน้อยสุด

รูปที่2.14 แสดงการกำหนดระยะคลอนมากสุด

รูปที่ 2.15 แสดงการกำหนดระยะคลอนน้อยสุด
4. ระบบงานสวม
ระบบงานสวมของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ใช้ประกอบเข้าด้วยกันจำเป็นต้องให้ ชิ้นส่วนชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นหลักหรือเป็นค่าคงที่ไว้ก่อน จากนั้นค่อยปรับชิ้นส่วนอีกชิ้นเพื่อให้สามารถสวมกันได้ จึงทำให้เกิดงานสวมขึ้นมา 2 อย่าง คือ งานสวมระบบรูคงที่ และงานสามารถระบบเพลาคงที่ดังนี้
4.1 งานสวมระบบรูคว้านคงที่ งานสวมระบบนี้จะต้องกำหนดให้รูคว้านคงที่ ซึ่งรูคว้านมีพิกัดความเผื่อ H เมื่อสวมกับเพลาพิกัดความเผื่อจาก a ถึง h จะเป็นงานคลอน จาก j ถึง n จะเป็นงานสวมพอดี และจาก p ถึง z จะเป็นงานสวมอัด ดังรูป

รูปที่2.16 งานส้วมระบบรุคว้านคงที่
4.2 งานสวมระบบเพลาคงที่ งานสวมระบบนี้จะต้องกำหนดให้เพลาคงที่ ซึ่งเพลามีพิกัดความเผื่อ h เมื่อสวมรูคว้านพิกัดความเผื่อจาก A ถึง H จะเป็นงานสวมคลอน จาก J ถึง N จะเป็นงานสวมพอดี และจาก P ถึง Z จะเป็นงานสวมอัด ดัง

รูปที่2.17 งานสวมระบบเพลาคงที่
4.3 ตัวอย่างงานสวมระบบรูคว้านคงที่ และระบบเพลาคงที่ จากตัวอย่างนี้ค่าพิกัดความเผื่อให้อ่านจากตารางมาตรฐานด้านหลัง

รูปที่2.17 งานสวมระบบเพลาคงที่
4.4 ข้อดีและข้อเสียของงานสวมระบบรูคว้านคงที่ และเพลาคงที่ และเพลาที่ มีดังต่อไปนี้

4.5 พิกัดความเผื่ออิสระ โดยทั่วไปการใช้พิกัดความเผื่อจะใช้กับงานที่ไม่มีการสอนประกอบ เช่น งานเชื่อม งานหล่อ งานรีด ค่าต่างๆ ดูได้จากตาราง

5. การนำค่าพิกัดความเผื่อไปใช้งาน
การนำค่าพิกัดความเผื่อไปใช้งานดูได้จากตาราง
การนำค่าพิกัดความเผื่อไปใช้งานดูได้จากตาราง

หมายเหตุ:รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านจากตารางมาตรฐาน
ทำการตลาดผ่าน Social Network อย่างมีทิศทาง
![]() ปัจจุบันการเข้าถึงอินเทอร์เนตง่ายดายกว่าแต่ก่อนมาก มากเสียจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเราไปแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มคนในเมืองใหญ่ ดังนั้นองค์กร หรือบริษัทต่างๆ จึงมองเห็นข้อดีของการใช้อินเทอร์เนตเป็นช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าของตน เพราะนอกจากเป็นการลงทุนที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับสื่อด้านอื่น ยังเข้าถึงกลุ่มคนได้ง่ายและตลอดเวลาอีกด้วย แต่การใช้ Social Network ก็มีทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ผู้ประกอบการจึงควรใช้ Social Network อย่างมีหลักการ เพื่อว่าการ Social Network จะส่งผลดีให้องค์กรและบริษัท มากกว่าจะเป็นการลดทอนภาพลักษณ์ และต่อไปนี้คือแนวทางง่ายๆ การใช้ Social Network ให้ถูกวิธี ใช้ Social Network แสดงจุดแข็งของแบรนด์ บางครั้งเราอาจมองว่าการอัพเดตข้อมูลข่าวสารบน Social Network เป็นประจำจะช่วยดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ให้เข้ามาเป็นแฟนพันธุ์แท้ แต่การยัดเยียดข้อมูลมากเกินไปก็ไม่ได้ส่งผลดีนัก โดยเฉพาะเมื่อเราพยายามเกินไป การอัพเดตข้อมูลข่าวสารบน Social Network ควรทำแต่พอดี และที่สำคัญคือเนื้อหาควรมีประโยขน์และเกี่ยวข้องกับธุรกิจ หรือองค์กรด้วย ไม่ใช่เน้นแต่ปริมาณ โดยไม่ใส่ใจเรื่องเนื้อหา ตัวอย่างเช่น หากเราทำกิจการร้านเสื้อผ้าก็ควรอัพเดตข้อมูลด้านแฟนชั่นและเทรนด์การแต่งตัวสม่ำเสมอ เพราะข้องเกี่ยวกับกิจการที่ต้องการประชาสัมพันธ์ และยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ให้แบรนด์อีกด้วย แต่หากเราลงเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร้านอาหาร หรือการแต่งบ้าน โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ลูกค้าผู้อ่าน หรืออาจหวังว่าจะทำให้คนอื่นรู้สึกว่าเรารู้รอบด้าน แต่ผลที่ได้อาจกลับกันเลยทีเดียว เพราะอาจทำให้ผู้ติดตาม Social Network เกิดความสับสนว่าแท้จริงแล้วกิจการของเราเกี่ยวข้องกับสิ่งใดกันแน่ เพราะเนื้อหาข้อมูล ที่สื่อออกไปมีความหลากหลาย ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และไม่สื่อถึงจุดแข็งและจุดเด่นแบรนด์เลย ดังนั้นเลือกเรื่องที่เกี่ยวและช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ด้วยจะเป็นการดีกว่า การอัพเดตข้อมูลข่าวสารบน Social Network ควรทำแต่พอดี และที่สำคัญคือเนื้อหาควรมีประโยขน์และเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือองค์กรด้วย ![]() เลือก Social Network ให้เหมาะกับองค์กร หลายองค์กรเริ่มหันมาใช้ Social Network เพิ่มขึ้น เพราะอยากเข้าถึงทุกคนในวงกว้าง แต่ทำอย่างนั้นจะดีจริงหรือ บางครั้งการพยายามใช้ Social Network หมดทุกตัวก็ไม่ได้เปรียบเสมอไป เพราะ Social Network บางตัวอาจไม่สามารถตอบสนองได้ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้าของเรา เช่น Twitter ที่สามารถ tweet ข้อความได้เพียง 140 ตัวอักษร จึงไม่เหมาะกับการลงข้อมูลเยอะๆ พร้อมภาพประกอบหรือลิงก์ต่างๆ แต่อาจจะเหมาะกับการประกาศสั้นๆ แต่ได้ใจความ เช่น ข่าวสั้นหรือโปรโมชั่นประจำวันหรือ Social Network อย่าง Facebook ก็อาจไม่เหมาะในกรณีที่ลูกค้าของเราเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ใช้งาน Facebook เป็นหลักอาจด้วยวัยหรือลักษณะการใช้ชีวิต ดังนั้น บางครั้งการใช้เพียงเว็บไซต์อย่างเดียวก็อาจเพียงพอแล้ว แต่ควรต้องออกแบบให้ใช้งานง่าย หาข้อมูลสะดวก และอัพเดตข้อมูลเป็นประจำสม่ำเสมอ ![]() ใช้ Social Network รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า การใช้ Social Network ทำการตลาดถือเป็นเป้าหมายหลักของผู้ประกอบการทั้งหลาย แต่บางครั้งการใช้ Social Network เพื่อทำการตลาดในเชิงเป็นสื่อโฆษณาเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ลูกค้าเบือนหน้าหนีเราก็ได้ ลองคิดดูว่าหากเราเป็นลูกค้า พอเปิด Facebook ขึ้นมาแล้วเห็นแต่โพสต์โฆษณาชวนเชื่อของบรรดา Fan Page ที่เรากด Like ไว้ เราจะรู้สึกอย่างไรบ้าง อาจรู้สึกว่าโดนยัดเยียดให้อ่านโฆษณา หรือรู้สึกเหมือนว่าข้อความต่างๆ เหล่านั้นเป็น Spam เลยก็ได้ และอาจพานไม่ติดตาม Social Network นั้นๆ ต่อไปเลย ดังนั้น เราลองเปลี่ยนมาใช้ Social Network เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าบ้างดีกว่า โดยอาจจัดการเล่นเกมแจกของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ผ่าน Social Network หรืออาจลงเคล็บลับความรู้ต่างๆ ซึ่ง มีความเกี่ยวพันกับกิจการของเราบ้างก็ได้ นอกจากไม่ทำให้ลูกค้าเบื่อกับการโฆษณาต่างๆ แล้ว ยังทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกดีๆ กับแบรนด์ของเราไปในเวลาเดียวกันด้วย แต่บางครั้งการใช้ Social Network เพื่อทำการตลาดในเชิงเป็นสื่อโฆษณาเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ลูกค้าเบือนหน้าหนีเราก็ได้ • • • • • • • • • • • • Social Network จะมีประโยชน์หรือโทษก็ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งาน ดังนั้นผู้ประกอบการควรเลือก Social Network และควรวางแผนการใช้งานให้ดี จำไว้ว่า Social Network ต่างๆ เป็นเพียงช่องทางการสื่อสารเท่านั้น เนื้อหาต่างๆ ที่สื่อออกไปต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมใช้ Social Network ให้ถูกวิธีอย่างมีหลักการและมีประสิทธิภาพ เพื่อการสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้าอย่างเข้มแข็ง ไม่ใช่การทำลายภาพลักษณ์แบรนด์ ที่มา : INCquity incquity.com |
7 ประโยชน์ของการออกบูธแสดงสินค้า
การออกบูธแสดงสินค้าถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ประกอบการธุรกิจหลายท่านอาจเคยผ่านและมีประสบการณ์บ้างไม่มากก็น้อย เพราะในปัจจุบันกระแสตอบรับการออกบูธแสดงสินค้าได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าผู้บริโภคมากอย่างยิ่ง และเพราะการออกบูธแสดงสินค้ายังให้ผลตอบรับและตอบแทนอย่างดีมาตลอด ผู้ประกอบการหลายรายจึงไว้วางใจเลือกใช้การออกบูธแสดงสินค้าหรือทำกิจกรรมต่างๆ เป็นเครื่องมือทางการตลาดอีกชนิดหนึ่ง แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มตลาดและทุนใหม่กลับให้ความสนใจไปออกบูธแสดงสินค้าและบริการเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วการไปออกบูธแสดงสินค้าและบริการสามารถสร้างประโยชน์ต่างๆ
หากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่าการไปออกบูธแสดงสินค้าไม่ได้มีประโยชน์แค่แสดงสินค้าหรือบริการเท่านั้น เพราะยังมีประโยชน์ซ่อนเร้นที่ช่วยให้เราสามารถสยายปีกและเพิ่มโอกาสเติบโตในอนาคตอย่างมั่นคงได้อีกด้วย
การออกบูธแสดงสินค้าถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ประกอบการธุรกิจหลายท่านอาจเคยผ่านและมีประสบการณ์บ้างไม่มากก็น้อย เพราะในปัจจุบันกระแสตอบรับการออกบูธแสดงสินค้าได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าผู้บริโภคมากอย่างยิ่ง และเพราะการออกบูธแสดงสินค้ายังให้ผลตอบรับและตอบแทนอย่างดีมาตลอด ผู้ประกอบการหลายรายจึงไว้วางใจเลือกใช้การออกบูธแสดงสินค้าหรือทำกิจกรรมต่างๆ เป็นเครื่องมือทางการตลาดอีกชนิดหนึ่ง แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มตลาดและทุนใหม่กลับให้ความสนใจไปออกบูธแสดงสินค้าและบริการเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วการไปออกบูธแสดงสินค้าและบริการสามารถสร้างประโยชน์ต่างๆ ได้มากมายดังต่อไปนี้
1. ออกบูธแสดงสินค้าเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ
การออกบูธแสดงสินค้าหรือบริการถือเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการได้ดีมากที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะองค์ประกอบที่จะทำให้การโฆษณาและ ประชาสัมพันธ์ได้ผลคือสาระสำคัญของสารต้องถูกส่งผ่านไปยังผู้รับสารเป็นจำนวนมาก ซึ่งการไปออกบูธแสดงสินค้าหรือบริการตามนิทรรศการหรืองานเทศกาลต่างๆ สามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มาเดินภายในงานได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าที่มาเดินตามงานต่างๆ ที่ผู้ประกอบการไปออกบูธแสดงสินค้าก็มักสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่จัดแสดงอยู่แล้ว ทำให้สามารถสื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งประโยชน์ข้อนี้คือจุดเด่นที่สุดของการไปออกบูธแสดงสินค้าและบริการ
2. ออกบูธแสดงสินค้าเพื่อเพิ่มช่องทางและโอกาสในการขาย
การออกบูธแสดงสินค้าและบริการจัดเป็นอีกหนึ่งช่องทางการค้าขายสินค้าหรือบริการที่น่าสนใจมาก เพราะแม้ว่าช่วงระยะเวลาในการจัดงานจะน้อยและ ไม่ใช่ช่องทางการขายสินค้าหรือบริการที่มั่นคงถาวร แต่นิทรรศการและงานที่จัดขึ้นก็มักเป็นแหล่งชุมนุมของบรรดาลูกค้าชั้นดีที่ต่างแห่แหนมาร่วมงานกัน จึงทำให้เวลาที่มีอยู่น้อยนิดไม่ใช่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด หากเจ้าของกิจการสามารถใช้การออกบูธแสดงสินค้าและบริการครั้งนั้นให้เป็นประโยชน์ด้วยการสร้างยอดจำหน่ายต่อชั่วโมงให้ได้จำนวนสูงมาก อย่างเช่น สำนักพิมพ์ต่างๆ ที่มักไปออกบูธแสดงสินค้าในมหกรรมหนังสือ เป็นต้น
3. ออกบูธแสดงสินค้าและบริการเพื่อโชว์ศักยภาพอย่างเต็มที่
การออกบูธแสดงสินค้าและบริการถือเป็นโอกาสทองในการแสดงศักยภาพสินค้า บริการ หรือการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อีกด้วย เพราะสามารถเข้าถึง และสื่อสารกับผู้คนได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เจ้าของกิจการทั้งหลายยังสามารถใช้การออกบูธแสดงสินค้าเป็นช่องทางเพื่อเกทับคู่ต่อสู้ที่ทั้งไม่ได้มาและมาออกบูธงานเดียวกันได้อีกด้วย การแสดงศักยภาพนี้ผู้ประกอบการสามารถนำสินค้าหรือบริการต้นแบบที่แสดงถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตมาโชว์ได้โดยไม่จำว่าจะเป็นสินค้าต้นแบบหรือเป็นเพียงคอนเซปต์ไอเดีย ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าพร้อมจำหน่ายเสมอไป ดังเช่นงานออกบูธแสดงสินค้าด้านเทคโนโลยีต่างๆ
4. ออกบูธแสดงสินค้าและบริการเพื่อหาคู่ค้าทางธุรกิจ
การออกบูธแสดงสินค้าและบริการนอกจากจะได้พบลูกค้ารายย่อยแล้ว ยังมีโอกาสพบคู่ค้าทางธรุธกิจอีกด้วย เพราะในปัจจุบันงานมหกรรมแสดงสินค้า และบริการต่างๆ ได้แบ่งกำหนดการให้มีวันและช่วงเวลาสำหรับนักธุรกิจโดยเฉพาะ เพื่อเปิดโอกาสให้พบปะพูดคุยและหาคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งส่วนมากแล้วมักเป็นวันแรกๆ ของงาน) จึงกลายเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ประกอบการได้พบปะพูดคุยและทำสัญญาธุรกิจกับคู่ค้าได้โดยตรง ซึ่งโอกาสดังกล่าวช่วยให้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจทั้งหลายสามารถลดต้นทุนของตนเองลงได้อันเนื่องมาจากได้พบเจอกับเจ้าของปัจจัยการผลิตรายอื่นๆ ซึ่งเสนอขายราคาวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตสินค้าให้เราเพื่อเป็นตัวเลือกเพื่อเทียบกับคู่ค้าเดิมอีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ด้านงบประมาณเลยทีเดียว
5. ออกบูธแสดงสินค้าและบริการเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้าและกลุ่มธุรกิจ
การออกบูธสินค้าและบริการมีข้อดีอีกหนึ่งอย่างคือเป็นการสื่อสารสองทางที่ผู้ประกอบการสามารถรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจ และ สามารถแนะนำสินค้าและบริการกลับคืนสู่ทั้งลูกค้าและคู่ค้าอีกด้วย สิ่งนี้จะช่วยห้ผู้ประกอบการได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้พัฒนาธุรกิจได้ในอนาคต
6. ออกบูธสินค้าและบริการเพื่อสำรวจคู่แข่งและตลาด
การออกบูธสินค้าและบริการนอกจากจะทำให้ผู้ประกอบการได้พบกับลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจแล้ว ยังถือเป็นโอกาสดีที่จะทำให้ผู้ประกอบการได้พบกับคู่แข่งด้วย จึงเป็นช่วงสำคัญและมีประโยชน์อย่างมากเพราะผู้ประกอบการสามารถสำรวจตรวจสอบความก้าวหน้าของคู่แข่ง และสามารถสำรวจตลาดไปในตัวได้อีกด้วย
7. ออกบูธสินค้าและบริการเพื่อสร้างฐานข้อมูลลูกค้า
แม้ผู้ประกอบการจะไม่มีสินค้าหรือบริการไปออกบูธแสดงสินค้าแม้แต่ชิ้นเดียว แต่ผู้ประกอบการก็ควรต้องไปออกบูธที่งานเพื่อเป็นการสร้างฐานข้อมูลของ ลูกค้าผู้บริโภค ไม่มีโอกาสไหนแล้วที่ผู้บริโภคจะรวมตัวกันมากขนาดนี้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรฉวยโอกาสนี้ไปออกบูธแสดงสินค้าและบริการด้วยประการทั้งปวง แม้ไม่ได้ตัวเงินกลับมา อย่าง น้อยก็ขอให้ได้ฐานข้อมูลลูกค้าก็ยังดีเพราะบางครั้งข้อมูลเหล่านี้อาจมีค่าและประโยชน์มากกว่าเงินเสียอีก
• • • • • • • • • • • • • • •
หากผู้ประกอบการใส่ใจและมองเพียงแค่ผลลัพธ์ของการทำธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว ก็จะไม่มีทางมองเห็นคุณประโยชน์อันมหาศาลของการไปออกบูธแสดงสินค้าและบริการอย่างแน่นอน เพราะการไปออกบูธแสดงสินค้าและบริการไม่ใช่สิ่งที่สามารถสร้างผลกำไรและความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วเหมือนการขายของ แต่เป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องคอยเก็บดอกเก็บผลในวันข้างหน้าเสียมากกว่า
Subscribe to:
Posts (Atom)