About Me

My photo
ร้านค้าปลีก ~เจ้าป้าช็อป~ จำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปทุกเพศทุกวัย

Friday, September 9, 2011

ระบบงานสวม

1.ระบบงานสวม(SYSTEM OF FIT)
ระบบงานสวมเป็นการประกอบชิ้นส่วน 2 ชิ้นเข้าด้วยกันระหว่างเพลากับรู้คว้านโดยมีค่าพิกัดต่างๆเป็นตัวกำหนด ดังรูป



รูปที่2.1 แสดงระบบงานสวมระหว่างเพลากับรูคว้าน

         1.1 จุดมุ่งหมายของระบบงานสวม  การผลิตชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องจักรกลที่ออกมาเป็นจำนวนมากๆเป็นการยากที่จะ ทำให้ชิ้นส่วนทุกชิ้นส่วนได้ขนาดเที่ยงตรงตามที่แบบกำหนดจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งต้องยอมให้มีขนาดที่ผิดพลาดได้ในช่วงที่กำหนด  ซึ่งขนาดที่ยอมให้ผิดพลาดได้นั้นเรียกว่า  พิกัดความเผื่อ ดังนั้นในระบบงานสวมชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลพิกัดความเผื่อมีความจำเป็น อย่างยิ่งสามารถกำหนดค่าผิดพลาดได้ทั้งที่โตกว่าและค่าที่เล็กกว่าตามที่แบบ กำหนด(ค่าบวก  และค่าลบ)ดังรูป
รูปที่2.2  แสดงค่าพิกัดความเผื่อระบบงานสวม

2.พิกัดความเผื่อ(TOLERANCE)

      ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆให้ได้ขนาดตามที่ต้องการโดยที่ขนาดของ ชิ้นส่วนไม่ผิดพลาดเลยนั้นช่างทุกคนไม่สามารถทำได้  ดังนั้นในการกำหนดขนาดลงในแบบบงานต้องกำหนดค่าสูงสุดและค่าขนาดที่ต่ำสุด และค่าขนาดของชิ้นงาน  ค่าขนาดที่ใช้งานจริงจะอยู่ในระหว่างค่าโตและค่าที่ต่ำสุดที่ยอมให้ได้  ผลต่างของค่าทั้งสองเรียกว่า  ค่าพิกัดความเผื่อ

          2.1 ความหมายระบบมาตรฐานของพิกัดความเผื่อ จะกำหนดค่าต่างๆดังรูป


รูปที่2.3 แสดงระบบมาตรฐานพิกัดความเผื่อ

         คำจำกัดความจากรูป 2.3
               2.1.1 ขนาดกำหนด (NORMINAL SIZE) คือ ขนดปกติของชิ้นงานที่วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง หรือขนาดชิ้นงานที่กำหนดลงแบบในงาน
               2.1.2 ค่าความเผื่อต่ำสุด (ALLOWANCE BELOW NORMINAL SIZE) ระยะที่วัดจากเส้นศูนย์ถึงเส้นต่ำสุด
               2.1.3 ค่าความเผื่อสูงสุด (ALLOWANCE ABOVE NORMINAL SIZE) ระยะวัดจากเส้นศูนย์ถึงเส้นสูงสุด
               2.1.4 พิกัดความเผื่อ (TOLERANCE) คือ ผลต่างระหว่างขนาดที่ยอมรับให้โตสุดกับขนาดเล็กสุด
               2.1.5 เส้นศูนย์ (ZERO LINE) คือ เส้นแสดงตำแหน่งของขนาดกำหนด


หมายเหตุ
          เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการกำหนดค่าพิกัดความเผื่อนั้นควรจะกำหนดให้ มากเท่าที่จะมากได้ เพราะว่าถ้ากำหนดค่าพิกัดความเผื่อน้อยค่าจ้างในการผลิตตามไปด้วย เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตจะสูงตามไปด้วย ในการผลิตที่มีค่าความละเอียดสูง จำเป็นต้องระมัดระวังในกาผลิตมาก การที่ผลิตให้ได้ขนาดพอดีนั้นทำได้ยากมาก ดังนั้นวิศวกรต้องตัดสินใจว่าควรกำหนดค่าพิกัดความเผื่อสำหรับชิ้นส่วนนั้นๆ เท่าไร  โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและอายุการใช้งานด้วย

ข้อควรคำนึง
          ค่าพิกัดความเผื่อยิ่งน้อยเท่าใดก็จะต้องใช้ความระมัดระวังในการผลิตชิ้น ส่วนมากเท่านั้นและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงมากขึ้น  การกำหนดค่าพิกัดความเผื่อน้อยจะสิ้นเปลืองทุน  เวลาเครื่องจักร และพลังงานในการผลิตเกินความจำเป็น


          2.2 การกำหนดมาตรฐานของพิกัดความเผื่อ  มีดังต่อไปนี้
                ในการผลิตที่ประหยัด  ในการผลิตจำนวนมากๆและในการผลิตที่สามารถใช้ชิ้นส่วนแทนกันได้ จำเป็นต้องมีมาตรฐานของพิกัดความเผื่อขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือขนาด และความละเอียของชิ้นงาน  และความละเอียดของชิ้นงาน  ด้วยเหตุที่ไม่สะดวกในการกำหนดพิกัดความเผื่อไว้สำหรับทุกๆขนาดของเส้นผ่า ศูนย์กลาง  ค่าของพิกัด ความเผื่อขึ้นอยู่กับขนาดกำหนดและจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อขนาดกำหนดนั้นเพิ่ม ขึ้น

                2.2.1 ตำแหน่งช่วงพิกัดความเผื่อของเพลา จะกำหนดค่าด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์เล็กตั้งแต่ a-z ดังรูป

รูปที่2.4 แสดงช่วงพิกัดความเผื่อเพลา

                2.2.2 ตำแหน่งช่วงพิกัดความเผื่อของรูคว้าน จะกำหนดค่าด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่ตั้งแต่ A-Z ดังรูป
 
รูปที่2.5 แสดงช่วงพิกัดเผื่อของรูคว้าน
2.3 ระดับความละเอียดของพิกัดของพิกัดความเผื่อ
               เป็นค่าของพิกัดความเผื่อซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดกำหนดของชิ้นงานและจะเพิ่มมาก ขึ้นเมื่อขนาดกำนดเพิ่มมากขึ้น  ระบบพิกัดความเผื่อแบ่งออกได้ 2 ระดับมาตรฐานของความละเอียด(IT 1 ถึง IT 18)ดังรูป
รูปที่ 2.6 แสดงระดับความละเอียดของพิกัดความเผื่อ
2.4 การกำหนดค่าพิกัดความเผื่อในแบบงาน
               ให้กำหนดค่าพิกัดความเผื่อของรูคว้านโดยกำหนดเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กใต้มุมขวาของขนาดที่กำหนด  ดังรูป
รูปที่2.7 แสดงการกำหนดพิกัดความเผื่อลงในแบบงาน

3.ชนิดของงานสวม

         งานสวมที่ใช้กับชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามมาตรฐานมีอยู่  3  อย่าง  คือ  งานสวมคลอนงามวสวมพอดี และงานสวมอัด  ดังรูป
รูปที่2.8 เปรียบเทียบงานสวมแบบต่างๆ

          3.1 งานสวมคลอน คือ  เพลาจะเล็กกว่ารูคว้านเสมอ  ดังนั้นจึงมีระยะคลอนเกิดขึ้นทำให้เพลาสามารถหมุนได้เพลาสามารถหมุนได้อยู่ภายในรูคว้าน  ดัง
รูปที่ 2.9 ลักษณะงานสวมคลอน

          3.2  งานสวมพอดี คือ ขึ้นกับขนาดที่แท้จริงของชิ้นส่วนนั้นที่นำมาประกอบกันสามารถเป็นได้ทั้งงานสวมพอดี และงานสวมอัด  ดังรูป
รูปที่ 2.10 ลักษณะงานสวมพอดี

          3.3  งานสวมอัด คือ  เพลาจะใหญ่กว่ารูคว้านจึงจำเป็นต้องอัด หลังจากสวมอัดเข้าไปแล้วจะเกิดความเครียดขึ้นที่ผิวงานทั้งสอง  ดังรูป
รูปที่2.11 ลักษณะงานสามอัด

          3.4  ระยะอัดและระยะคลอน  ในระบบงานสวมจะกำหนดระยะอัดและระยะคลอนไว้เป็นค่ามากที่สุด  และค่าน้อยที่สุดเอาไว้ ดังรูป
รูปที่2.12แสดงการกำหนดระยะอัดมากสุด
รูปที่2.13 แสดงการกำหนดระยะอัดน้อยสุด
รูปที่2.14 แสดงการกำหนดระยะคลอนมากสุด
รูปที่ 2.15 แสดงการกำหนดระยะคลอนน้อยสุด


4. ระบบงานสวม

         ระบบงานสวมของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ใช้ประกอบเข้าด้วยกันจำเป็นต้องให้ ชิ้นส่วนชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นหลักหรือเป็นค่าคงที่ไว้ก่อน  จากนั้นค่อยปรับชิ้นส่วนอีกชิ้นเพื่อให้สามารถสวมกันได้ จึงทำให้เกิดงานสวมขึ้นมา  2  อย่าง  คือ  งานสวมระบบรูคงที่  และงานสามารถระบบเพลาคงที่ดังนี้

          4.1 งานสวมระบบรูคว้านคงที่  งานสวมระบบนี้จะต้องกำหนดให้รูคว้านคงที่ ซึ่งรูคว้านมีพิกัดความเผื่อ H เมื่อสวมกับเพลาพิกัดความเผื่อจาก a ถึง h จะเป็นงานคลอน จาก j ถึง n จะเป็นงานสวมพอดี และจาก p ถึง z จะเป็นงานสวมอัด  ดังรูป

รูปที่2.16 งานส้วมระบบรุคว้านคงที่

          4.2  งานสวมระบบเพลาคงที่  งานสวมระบบนี้จะต้องกำหนดให้เพลาคงที่  ซึ่งเพลามีพิกัดความเผื่อ  h  เมื่อสวมรูคว้านพิกัดความเผื่อจาก A ถึง H  จะเป็นงานสวมคลอน จาก  J ถึง N จะเป็นงานสวมพอดี  และจาก P ถึง Z จะเป็นงานสวมอัด  ดัง

 
รูปที่2.17 งานสวมระบบเพลาคงที่

          4.3 ตัวอย่างงานสวมระบบรูคว้านคงที่  และระบบเพลาคงที่  จากตัวอย่างนี้ค่าพิกัดความเผื่อให้อ่านจากตารางมาตรฐานด้านหลัง
รูปที่2.17 งานสวมระบบเพลาคงที่

           4.4 ข้อดีและข้อเสียของงานสวมระบบรูคว้านคงที่  และเพลาคงที่  และเพลาที่  มีดังต่อไปนี้
         4.5 พิกัดความเผื่ออิสระ โดยทั่วไปการใช้พิกัดความเผื่อจะใช้กับงานที่ไม่มีการสอนประกอบ เช่น งานเชื่อม งานหล่อ งานรีด ค่าต่างๆ ดูได้จากตาราง
5. การนำค่าพิกัดความเผื่อไปใช้งาน

          การนำค่าพิกัดความเผื่อไปใช้งานดูได้จากตาราง
หมายเหตุ:รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านจากตารางมาตรฐาน

Saturday, August 20, 2011

การจัดทำบัญชี



บัญชีที่ต้องจัดทำ
        1. บุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจ เป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่าย ผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือผู้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าประเภทแถบเสียง แถบวีดีทัศน์และแผ่นซีดี ต้องจัดทำบัญชีสินค้า นับแต่วันที่เริ่มต้นประกอบกิจการ
        2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบกิจการในในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องจัดทำบัญชี ดังต่อไปนี้
            2.1 บัญชีรายวัน
                (1) บัญชีเงินสด
                (2) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร
                (3) บัญชีรายวันซื้อ
                (4) บัญชีรายวันขาย
                (5) บัญชีรายวันทั่วไป
            2.2 บัญชีแยกประเภท
                (1) บัญชีแยกประเภท สินทรัพย์ หนี้สินและทุน
                (2) บัญชีแยกประเภทรายได้และรายจ่าย
                (3) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้
                (4) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
        3. บัญชีสินค้า
        4. บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่นและบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ

ข้อปฏิบัติในการลงรายการในบัญชี
        1. ลงรายการในบัญชีเป็นภาษาไทย หรือจะลงเป็นภาษาต่างประเทศก็ได้ แต่ต้องมีภาษาไทยกำกับหรือจะลงรายการเป็นรหัสบัญชีก็ได้แต่ต้องมีคู่มือคำ แปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้
        2. ต้องลงรายการในบัญชีด้วยหมึก หรือดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ หรือวิธีอื่นใดที่ให้ผลทำนองเดียวกัน
        3. ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่สามารถแสดงความถูกต้องและครบถ้วนของรายการบัญชีและเป็นที่เชื่อถือได้
        4. รายการในบัญชีที่เป็นจำนวนเงินต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
        เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หมายถึง บันทึก หนังสือ หรือ เอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
        1. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก
        2. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก
        3. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเองทั้ง นี้เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีทุกประเภทต้องมีข้อความและรายการตามที่ กำหนด

การลงรายการในบัญชีรายวันและบัญชีสินค้าต้อง
        1. มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีทุกรายการและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการ ลงบัญชีนั้นต้องสามารถแสดงความถูกต้องครบถ้วนของรายการบัญชีทุกรายการตาม ความเป็นจริงและเป็นที่เชื่อถือได้
        2. ใช้เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีในลำดับที่ 1 หรือ 2 แล้วแต่กรณีก่อน เว้นแต่ไม่มีเอกสารดังกล่าวจึงให้ใช้เอกสารในลำดับที่ 3

Wednesday, July 27, 2011

คำศัพท์เกี่ยวกับเหล็กที่น่ารู้

คำศัพท์เกี่ยวกับเหล็กที่น่ารู้
Alloy Steel
เหล็กพิเศษที่มีส่วนผสมของอัลลอยด์
Annealing
การอบเหล็กให้อ่อน เพื่อลดความแข็งและความเปราะลง ง่ายต่อการกลึง
Carburizing
การชุบผิวแข็งโดยการเติมคาร์บอน ลงไปที่ผิวเหล็ก ทำให้เหล็กมีความแข็งเพิ่มขึ้นเฉพาะส่วนผิวเท่านั้น ส่วนความแข็งของเนื้อเหล็กภายในยังเหมือนเดิม
Cold Drawn Steel
เหล็กที่ได้จากการรีดเย็น ทำให้ผิวของเหล็กมีสีขาว (เช่น เหล็ก S50C ผิวขาว)
Elongation
การใช้แรงดึงโลหะให้ยืดตัว
Flame-hardening Steel
เหล็กที่ชุบแข็งโดยเปลวไฟ
Hardness
ความแข็ง
Heat Treatment
การอบชุบ (เป็นความหมายรวมถึง การชุบแข็ง การอบอ่อน หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่มีการให้ความร้อนกับเหล็ก)
Hot Rolled Steel
เหล็กที่ได้จากการรีดร้อนโดยตรง ดังนั้นในการการกลึงจะแข็งกว่าเหล็กที่ผ่านการ Normalizing หรือเหล็กที่ผ่านการ Annealing
Induction
การชุบแข็งโดยใช้คลื่นความถี่สูงผ่านขดลวดที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เพื่อชุบแข็งที่ผิว โดยความลึกจะขึ้นอยู่กับความร้อนที่ผ่านขดลวด
Nitriding
การชุบผิวแข็งโดยการเติม ไนโตรเจนลงไปที่ผิวเหล็ก ทำให้เหล็กมีความแข็งเพิ่มขึ้นเฉพาะส่วนผิวเท่านั้น ส่วนความแข็งของเนื้อเหล็กภายในยังเหมือนเดิม
Normalizing
การอบให้เหล็กมีเนื้อเหล็ก (grain) และความแข็งสม่ำเสมอทั่วทั้งเส้น ง่ายต่อการกลึง
Pre-hardened Steel
เหล็กที่ชุบแข็งเรียบร้อยแล้วจากโรงงานที่ผลิต
Press Die
แม่พิมพ์อัด
Punching Die
แม่พิมพ์ตัดกระแทก
Rough Turned Steel
เหล็กที่มีการกลึงผิวแล้ว
Strength
ความแข็งแรง
Stress Relieve
การอบให้คลายความเค้น
Toughness
ความเหนียว
Vacuum Heat Treatment
การชุบโดยใช้เตาสุญญากาศ แบ่งเป็น การชุบน้ำมัน (Oil quenching) และการชุบแก็ส (Gas quenching)
Wear Resistance
ความทนต่อการสึกหรอ

สูตรการคำนวณน้ำหนักเหล็กโดยประมาณ

สูตรการคำนวณน้ำหนักเหล็กโดยประมาณ
   1. เหล็กกลม
               เส้นผ่าศูนย์กลาง (ซม.) x เส้นผ่าศูนย์กลาง (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0062 = น้ำหนัก (กก.)
   2. เหล็กสี่เหลี่ยม
               ขนาด (ซม.) x ขนาด (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0079 = น้ำหนัก (กก.)
   3. เหล็กหกเหลี่ยม
               ขนาด (ซม.) x ขนาด (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0068 = น้ำหนัก (กก.)
    4. เหล็กแปดเหลี่ยม
               ขนาด (ซม.) x ขนาด (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0065 = น้ำหนัก (กก.)
    5. เหล็กแบน
               ความหนา (ซม.) x ความกว้าง (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0079 = น้ำหนัก (กก.)
    6. เหล็กแผ่น
               ความหนา (มม.) x ความกว้าง (ฟุต) x ความยาว (ฟุต) x 0.7293 = น้ำหนัก (กก.)

ตารางเทียบเกรดเหล็ก

ตารางเทียบเกรดเหล็ก


ประเภทเหล็ก
JIS
AISI
DIN
AICHI
DAIDO
HITACHI
NIPPON
KOSHUHA
ASSAB
BOHLER
THYSSEN
เหล็กกล้างานเย็น
SKD11
D2
1.2379
AUD11
DC53
SLD2
SKD11V
XW41
K110
2379
SKS3
O1
1.2510
SKS3
GOA
SGT
KS3
DF2
K460
2510
เหล็กกล้างานร้อน
SKD61
H13
1.2344
AUD61
DHA1
DAC
KDA1
8407
W302
2344
SKT4
L6
1.2714
SKT4A
GFA
DM
KTV
SOMDIE
W500
2714
เหล็กชุบแข็ง
ด้วยเปลวไฟ
-
-
-
SX105V
GO5
HMD5
FH-5
-
-
-
เหล็กทำแม่พิมพ์
พลาสติก
-
P20
1.2311
-
PX4
-
PLASMOLD20
718
W330
2311
-
P20+5
1.2312
-
NAK80
-
-
HOLDAX
M200
2312
เหล็กอะไหล่
S45C
1045
1.1191
S45C
S45C
S45C
S45C
-
-
CK45
S50C
1050
1.1206
S50C
S50C
S50C
S50C
760
CM50
1730
SCM440
4140
1.7225
SCM440
SCM440
SCM440
SCM440
709
V320
7225
SNCM439
4340
1.6582
SNCM439
SNCM439
SNCM439
SNCM439
705
V155
6582
เหล็กชุบผิวแข็ง
โดยเติมคาร์บอน
SCM415
5115
1.7262
SCM415
SCM415
SCM415
SCM415
-
-
-
เหล็กเครื่องมือ
คาร์บอนสูง
SK5
W1
1.1625
SK5
SK5
-
-
K100
K980
1545
เหล็กเหนียว
SS400
-
-
SS400
SS400
SS400
SS400
-
MS
-

ตารางเทียบความแข็งเหล็ก

ตารางเทียบความแข็งเหล็ก


HB
Brinell Hardness

10mm load 3000kg Standard ball
HRC
Rockwell Hardness
C Scale load 150kgf Diamond Penetrator
HV
Vickers Hardness
HS
Shore Hardness
Tensile Strength

N/mm2 (kgf/mm2)
Approximate value
-
52.5
553
-
1912 (195)
-
52.1
547
70
1893 (193)
495
51.6
539
-
1853 (189)
-
51.1
530
-
1824 (186)
-
51.0
528
68
1824 (186)
477
50.3
516
-
1775 (181)
-
49.6
508
66
1736 (177)
461
48.8
495
-
1687 (172)
-
48.5
491
65
1667 (170)
444
47.2
474
-
1589 (162)
-
47.1
472
63
1589 (162)
429
45.7
455
61
1510 (154)
415
44.5
440
59
1461 (149)
401
43.1
425
58
1393 (142)
388
41.8
410
56
1334 (136)
375
40.4
396
54
1265 (129)
363
39.1
383
52
1216 (124)
352
37.9
372
51
1177 (120)
341
36.6
360
50
1128 (115)
331
35.5
350
48
1098 (112)
321
34.3
339
47
1059 (108)
311
33.1
328
46
1030 (105)
302
32.1
319
45
1010 (103)
293
30.9
309
43
971 (99)
285
29.9
301
-
951 (97)
277
28.8
292
41
922 (94)
269
27.6
284
40
892 (91)
262
26.6
276
39
873 (89)
255
25.4
269
38
843 (86)
248
24.2
261
37
824 (84)
241
22.8
253
36
804 (82)
235
21.7
247
35
785 (80)
229
20.5
241
34
765 (78)
223
(18.8)
234
-
-
217
(17.5)
228
33
726 (74)
212
(16.0)
222
-
706 (72)
207
(15.2)
218
32
686 (70)
201
(13.8)
212
31
677 (69)
197
(12.7)
207
30
657 (67)
192
(11.5)
202
29
637 (65)
187
(10.0)
196
-
618 (63)
183
(9.0)
192
28
618 (63)
179
(8.0)
188
27
598 (61)
174
(6.4)
182
-
588 (60)
170
(5.4)
178
26
569 (58)
167
(4.4)
175
-
559 (57)
163
(3.3)
171
25
549 (56)
156
(0.9)
163
-
520 (53)
149
-
156
23
500 (51)
143
-
150
22
490 (50)
137
-
143
21
461 (47)
131
-
137
-
451 (46)
126
-
132
20
431 (44)
121
-
127
19
412 (42)
116
-
122
18
402 (41)
111
-
117
15
382 (39)

ข้อมูลจาก NKK STEEL PLATE CATALOGS, Cat. No. 142-043-02, May. '95.Rev. (Sept. '93)